top of page
Search

"ยอมรับความพ่ายแพ้ ผิดหวังพูดง่ายแต่ทำยาก"

Updated: Feb 24, 2023

"ยอมรับความพ่ายแพ้ ผิดหวัง"


ในวัยเด็กเรื่องการยอมรับความพ่ายแพ้เสียใจ

"พูดง่ายแต่ทำยาก"

.

เมื่อมีการแข่งขัน มีทางเลือกสองทางที่ต้องเลือก"ฝ่ายแพ้-ฝ่ายชนะ"หรือในการแข่งขัน จะต้องมีฝ่ายใดฝ่ายนึงผิดหวังเสียใจและฝ่ายอีกฝ่ายนึงเป็นฝ่ายที่ได้สิ่งของนั้น เป็นฝ่ายที่สมหวัง

.

.

เราจะไม่พูดถึงฝ่ายที่สมหวังเพราะฝ่ายที่สมหวังนั้นมีความสุขจากการที่ตัวเองสมหวังอยู่แล้ว

.

.

ในฝ่ายที่ผิดหวังเสียใจ เข้าใจนะว่าตัวเองอาจจะแพ้ได้ เตรียมใจมาบ้างแล้ว แต่พอผลออกมาแพ้จริงๆ เด็กบางคนอาจจะสามารถรับได้ปกติ เมื่อมีอีกฝ่ายแพ้ชนะ อีกฝ่ายก็ต้องเป็นฝ่ายแพ้

.

.

การยอมรับความพ่ายแพ้ ผิดหวัง เสียใจ เด็กหลายๆคนทำได้ดีคือยอมรับและสามารถเริ่มต้นใหม่หรือทำใหม่ แข่งขันใหม่ พยายามใหม่ได้ แต่ในเด็กบางคนเป็นเรื่องที่รู้สึกถูกทำร้ายจิตใจ เศร้าเสียใจอย่างมากไม่สามารถควบคุมหรือจัดการกับความผิดหวังเสียใจนั้นได้ แม้จะเคยพยายามแล้วหลายครั้ง แต่ก็ยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร

.

.

ไม่แปลกค่ะ เพราะเด็กแต่ละคนมีวุฒิภาวะ การยอมรับความผิดหวังเสียใจความไม่ถูกใจหรือถูกขัดใจ ได้แตกต่างกัน ดังนั้นในวัยเด็กการสร้างวุฒิภาวะ การสร้างพื้นฐานทางอารมณ์ที่มั่นคงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก

.

.

พ่อแม่ครอบครัวควรให้เด็กเรียนรู้ รับรู้ และเข้าใจของเรื่องเหล่านี้ตั้งแต่เนิ่นๆ คอยแนะนำให้ความเข้าใจอธิบายเหตุผล เพื่อให้เด็กมีการเรียนรู้การเาียใจ ถูกขัดใจ ผิดหวัง เพื่อป้องกันอารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว ร้องไห้ กรีดร้อง ที่อาจจะเกิดขึ้นหลังการผิดหวังเสียใจหรือพ่ายแพ้นั้นๆ

.

.

การให้กำลังใจและยืนข้างผู้ที่ได้รับความพ่ายแพ้ เพื่อให้เขาสามารถข้ามผ่านความผิดหวังนั้น รวมไปถึงการอธิบายเหตุผลให้เข้าใจในเรื่องที่เกิดขึ้น และให้เวลาเด็กในการทำใจสักระยะหนึ่ง และถามถึงแนวทางการแก้ปัญหาหรือทางออกในครั้งถัดไปเมื่อพบว่าเด็กอารมณ์ดีขึ้นแล้ว

.

.

ส่วนการร้องไห้ของฝ่ายที่ถูกขัดใจ พ่ายแพ้ แสดงออกถึงความเศร้าเสียใจเรียกร้องให้ได้มาจากผู้ชนะเพื่อให้ตัวเองเป็นฝ่ายสมหวังเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ควรแนะนำอธิบายให้ยอมรับในเหตุผลต่างๆที่เกิดขึ้นและให้รอในครั้งถัดไป

.

.

หากไม่ต้องการมีการแข่งขันเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียใจ ที่อาจจะเกิดขึ้น ควรทำการตกลงด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย ว่าใครจะเป็นคนเริ่มก่อนใครจะได้สิ่งนั้นก่อน ไม่ควรบังคับฝั่งตรงข้ามให้ยอมทำตามที่ตนเองต้องการ

.

.

การมีกติกาเงื่อนไข การเคารพผู้อื่น การให้สิทธิ์เท่าเทียมกันของทุกคน เป็นพื้นฐานในการสร้างความเสมอภาคในสิทธิของการเป็นมนุษย์ขั้นพื้นฐาน เพื่อให้เด็กสามารถที่จะอยู่ในสังคม ยอมรับความผิดหวังเสียใจ ความพ่ายแพ้ การทำใจยอมรับ การอดทนการรอคอย การเป็นฝ่ายยอมเสียเปรียบได้ เพื่อให้เด็กสามารถดำเนินชีวิตเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน

.

ร่วมพัฒนาและส่งเสริม เพื่อเผชิญกับความผิดหวังเสียใจให้กับลูกๆกันค่ะ

.

.

ชวนกันมาช่วยน้องให้ดีขึ้นทุกสัปดาห์ที่เรียนด้วยกันนะคะ

.

.

👨‍👩‍👦คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง สนใจให้เราดูแลพัฒนาการของลูกน้อย โดยผู้เชี่ยวชาญ ติดต่อสอบถามได้นะคะ บ้านครูภู่ของเรายินดีดูแลด้วยใจค่ะ

.

.

บ้านครูภู่: ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการดูแลส่งเสริมพัฒนาการเด็กยาวนานกว่า 10 ปี

.

.

😧หากลูกติดปัญหาเหล่านี้มาหาเรานะคะ : ไม่พูด ไม่มองหน้า ไม่สบตา ไม่ชี้ชวน เล่นคนเดียว  ต่อต้าน รอคอยไม่ได้ ไม่มีสมาธิ ทำงานไม่สำเร็จ อดทนต่ำ หงุดหงิดง่าย  โมโหร้าย😡 พฤติกรรมที่แสดงออกต่อผู้อื่นไม่เหมาะสม แกล้งคนอื่น ไม่รับรู้อารมณ์ความรู้สึกคนอื่น ไม่ฟังคำสั่ง เอาแต่ใจ ไม่ยืดหยุ่น เล่นแรง ไม่แบ่งของ แย่งของ Baan Khu Phu บ้านครูภู่ ยินดีให้คำปรึกษาและการดูแลทั้งเด็กและครอบครัว แล้วคุณพ่อคุณแม่จะไม่เดินลำพัง เราจะจับมือไปด้วยกัน😊

.

.

ปรึกษาและติดต่อสอบถามได้ทาง      


1. Inbox      


2. Tel 093-555-2649 (ครูภู่)    


   3. Line OA : @baankhuphu

หรือคลิกลิงก์ https://lin.ee/z6AjDhC

.

.

#บ้านครูภู่


#สมาธิสั้น #ADHD #รอคอย #ผิดหวังเสียใจ


#พูดช้า #ไม่พูด #ภาษาการ์ตูน


#ออทิสติก #autistic #ASD


#พัฒนาการช้ารอบด้าน #GDD #ไม่เขียน


#Selfesteem #ทักษะทางสังคม


#game #boardgame #บอร์ดเกม #เกมสลับตา


#แก้ปัญหาติดจอ #ลดพฤติกรรมก้าวร้าว #ขาดสมาธ


#ทำงานไม่สำเร็จไม่จดจ่องาน



27 views0 comments

Comments


bottom of page